อีกอาชีพหนึ่งที่ยังเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานของออสเตรเลียอยู่ และเป็นที่สนใจของหลายๆคนที่อยากได้วีซ่าทำงานหรือวีซ่าถาวรของออสเตรเลีย
อาชีพทำอาหารมีทั้งกุ๊กมีทั้งเชฟ แน่นอนว่าชื่อแตกต่างกัน ย่อมมีหน้าที่ความรับผิดชอบในครัวต่างกันด้วย
หน้าที่
หน้าที่ของเชฟจะแตกต่างจากกุ๊ก หลักๆจะเป็นการวางแผนและบริหารจัดการเกี่ยวกับการเตรียมและปรุงอาหารสำหรับสถานประกอบการต่างๆ ดังนี้- คิดเมนูอาหาร ประมาณการปริมาณอาหารที่ต้องเตรียม คำนวณค่าแรง รวมถึงการสั่งซื้อวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ
- ควบคุมคุณภาพของอาหารในทุกๆขั้นตอนตั้งแต่การเตรียมไปจนถึงการตกแต่งจานอาหาร
- ปรึกษาหารือเกี่ยวกับการเตรียมอาหารกับผู้จัดการ นักโภชนาการและทุกคนในครัว
- สาธิตเทคนิคในการปรุงอาหารและให้คำแนะนำเกี่ยวกับขั้นตอนการทำอาหาร
- เตรียมและปรุงอาหาร
- อธิบายถึงความสำคัญของสุขอนามัยและดูแลการรักษาความสะอาดในครัว
- อาจจะต้องรับผิดชอบในการถนอมอาหารเช่นการแช่แข็ง หรือการถนอมอาหารด้วยวิธีต่างๆ
- อาจจะมีหน้าที่เลือกพนักงานด้วย
ตำแหน่ง
การทำอาหารในครัวใหญ่ๆนั้นจะมีหลายตำแหน่ง เช่น- Head Chef หรือ Executive Chef หัวหน้าเชฟ มีหน้าที่หลักคือควบคุมดูแลความเรียบร้อยของการทำอาหาร ไปจนถึงการออกอาหาร รวมถึงการทำงานของทุกคนในครัว
- Second Chef หรือ Sous Chef เป็นตำแหน่งรองลงมา หน้าที่หลักคือเป็นผู้ช่วยเชฟใหญ่ในการทำงาน อาจจะรับผิดชอบเป็นแผนกๆไป
- Chef de Partie หรือ Section Chef จะเป็นตำแหน่งที่มีในห้องอาหารหรือภัตตาคารขนาดใหญ่ที่ต้องการคนดูแลรับผิด ชอบแผนกย่อยๆลงไปอีก เช่นแผนกเตรียมผัก แผนกอบขนม แผนกย่าง เป็นต้น เป็นตำแหน่งที่ค่อนข้างเฉพาะทาง
- Demi Chef – รองหัวหน้าเชฟ ที่ในแต่ละแผนกอาจจะมีรองหัวหน้าเชฟช่วยกันทำงานหลายคน
- Commis Chef – เป็นตำแหน่งแรกสุดสำหรับอาชีพเชฟ มีหน้าที่ช่วยงานต่างๆ แต่ไม่จำเป็นต้องมีความชำนาญอะไรเป็นพิเศษก็ได้
คุณสมบัติส่วนตัว
- ต้องเป็นคนที่รักความสะอาด
- รักการทำอาหาร
- สามารถจัดสรรเวลาได้เป็นอย่างดี
- สามารถสื่อสารได้เป็นอย่างดี
- มีความอดทน
- สามารถทำงานภายใต้ความกดดันได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น